วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บารมีสร้างได้ทุกวัน 3 บารมี 

การสร้างบารมีง่ายๆ เริ่มที่ต้องมีศิล หรือการประพฤติปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบที่แสดงออกมาเป็นปกติทางกายและวาจา กระทำได้ในทุกๆ วัน การมีศิล นับเป็นการสร้างบารมีที่ 1 

บารมีที่ 2 คือสมาธิ คือการสร้างความเข้มแข็งทางจิต เพราะจิตที่เข้มแข็งจะควบคุมกายและวาจาให้อยู่ในศิลได้ การทำสมาธิคือการทำให้จิตใจสงบ วางเฉยหรืออุเบกขา ไม่ทุกข์ไม่สุข ไมรักไม่เกลียด เป็นบารมีชั้นสูงเพราะเป็นบารมีของพระอรหันต์ การทำจิตให้เป็นสมาธินั้นแม้จะเป็นเรื่องยาก แต่เป็นสิ่งที่พึงกระทำ ง่าย ๆ ก่อนนอนลองทำสมาธิสงบจิต กราบพระ 5 ครั้ง ครั้งที่ 1 ระลึกถึงพระพุทธ ครั้งที่ 2 ระลึกถึงพระธรรม ครั้งที่ 3 ระลึกถึงพระสงฆ์ ครั้งที่ 4 ระลึกถึงบุญคุณพ่อแม่ ครั้งที่ 5 ระลึกถึงบุญคุณครูบาร์อาจารย์ ไม่น่าเชื่อว่าสมาธิเกิดแล้ว แม้เป็นช่วงเวลาสั้น ๆ แต่บารมียิ่งใหญ่นัก เพราะเป็นบารมีระดับพระอรหันต์ ที่ท่านสามารถทำได้ตลอดเวลา แต่มนุษย์ปุตุชนธรรมดาเยี่ยงเรา ๆ หาโอกาสทำบ่อย ๆ ในแต่ละวันบารมีนี้ยิ่งใหญ่กว่ามีศิลมากมายนัก 

บารมีที่ 3 คือปัญญา มนุษย์เราจะใช้ปัญญาเมื่อคับขันหรือเมื่อมีปัญหา ปัญญาจะเกิดคนนั้นต้องมี ศิล มีสมาธิ เป็นที่ตั้ง เพราะในสมาธิจะมีสติและสัมปชัญญะ อันเกิดจากการได้เรียนรู้ รับรู้ เก็บเกี่ยวข้อมูลต่าง ๆ ความรู้ต่างๆ ที่ดีเป็นประโยชน์ แก่ตน ไว้ในตน เมื่อเกิดคับขัน ปัญญาก็จะนำข้อมูล ความรู้ต่าง ๆ เหล่านั้น มาเป็นพื้นฐานในการคิดแก้ไขได้ 

สามบารมีสร้างได้ทุกวันค่ะ
................
ดร.คนึงนิจ อนุโรจน์

วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

The trust about managing people


The trust about managing people 
อ่านแล้ววางไม่ลง

Stephen Robbins กล่าวไว้ในหนังสือ
The trust about managing people ว่า : คนที่มีความสุข ความเจริญ ในหน้าที่การงานได้ ต้องฉลาดคิด และสิ่งใดถูกต้องยุติธรรมต้องทำสิ่งนั้น เราต้องยอมรับว่า คนเราคิดไม่เหมือนกันได้ แต่เราต้องรู้ได้ว่าอะไรถูกอะไรผิด อะไรอยู่บนความถูกต้อง การทำงานร่วมกัน คนในทีมอาจคิดต่าง อาจทะเลาะกันได้ ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร แต่ท้ายที่สุดสิ่งที่ตัดสินใจ สิ่งที่ลงมือทำต้องถูกต้อง อยู่บนศิลธรรมจรรยา องค์กรต้องได้ ประโยชน์จากการจ้างเรา จึงต้องมองประโยชน์ขององค์กรเป็นที่ ตั้ง ไม่ใช่มองเเต่ประโยชน์แห่งตน Stephen Robbins เน้นว่า ความถูกต้อง ตาม Rule of law ต้องเริ่มในครอบครัวก่อน พ่อแม่ต้งสอนลูก ที่สำคัญสำเนาจะถูกต้องต้นฉบับต้องคมชัด นั่นคือพ่อเเม่ต้องแบบอย่างที่ดี ความถูกต้องคืออะไรต้องบอกลูกสอนลูกให้รู้จัก ต้องทำให้ดู เมื่อเขาโตขึ้น ตัดสินใจหรือทำอะไรความถูกต้องจะมาก่อน อยูเหนือตัวกูของกู

ลองไปหามาอ่านนะคะ วางไม่ลงจริง ๆ 

วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เราจะหา Training Need ขององค์กรเรา จากไหนได้บ้าง Organization Development
มี นศ.ปโทท่านหนึ่ง มาขอปรึกษาเรื่องงานวิจัย  โดยเธอต้องการศึกษาเกี่ยวกับความต้องการในการอบรมพัฒนาบุคลากรในองค์กร (Training Need) ว่าจะต้องทำอย่างไร และมีแนวคิดอย่างไร ดิฉันจึงให้แนวคิดคร่าวไปดังนี้ค่ะ
........................................

  หลายท่านคิดว่าการหาความต้องการในการพัฒนาคือการส่งแบบสำรวจไปยัง บุคลากรใน หน่วยงานของตนเพื่อสอบถามต้องการในการพัฒนา สิ่งที่ได้กลับคืนมาอาจพบว่าเป็นความต้องการพัฒนาที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานที่ บุคลากรรับผิดชอบ หรือไม่สอดคล้องภารกิจของหน่วยงานหรืององค์กรเลย จึงมีคำถามที่ว่า ความต้องการในการพัฒนาควรมาจากแหล่งใดบ้าง
.....................................
แหล่งที่มาของความต้องการในการพัฒนา
  เพื่อให้การพัฒนาที่หน่วยงานหรือองค์กรวางแผนพัฒนาบุคลกรในองค์กร มีความคุ้มค่าคุ้มทุนและเป็นการเพิ่มคุณค่า (added value) เพื่อสร้างทุนมนุษย์ (Human Capital) ที่มีค่าขององค์กร และเพื่อช่วยพลักดันองค์กรให้บรรลุเป้าหมาย การหาความต้องการในการพัฒนาบุคลกร จึงควรพิจารณาจากปัจจัยต่อไปนี้
1.  ค่านิยม/ความเชื่อ/ปรัชญาองค์กร(Core Value/Beliefs/Core Competencies)  ความจำเป็นในการพัฒนาในส่วนนี้คือการวิเคราะห์ว่าองค์กรคาดหวังอะไรจากบุคลากรโดย รวมเช่นต้องการให้เป็นบุคลากรในองค์กรมีจิตใจกล้าหาญการวางแผนพัฒนาต้องนำ เอาสิ่งที่องค์กรคาดหวังนี้มาแปลงสู่ความจำเป็นในการพัฒนาและฝึกอบรมทั้ง ระยะยาวและระยะสั้น
2.  กลยุทธ์ขององค์กร  (Corporate Strategy) กลยุทธ์ขององค์กรมักจะเปลี่ยนไปตามสถานการณ์การวิเคราะห์หาความจำเป็นในการ พัฒนาจึงจำเป็นต้องนำเอากลยุทธ์ขององค์กรมาวิเคราะห์ร่วมด้วย ทั้งนี้เพื่อให้สามารถพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับ กลยุทธ์ขององค์กรเช่น องค์กรต้องการเป็นหนึ่งในภูมิภาคอาเซียนในอีก 5 ปีข้างหน้า  องค์กรจะต้องวิเคราะห์เพื่อทำแผนพัฒนาบุคลากรรองรับเป้าหมาย เพื่อเตรียมความพร้อมบุคลากร เช่นการพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอาเซี่ยน การพัฒนาความสามารถในการทำงานข้ามวัฒนธรรมหรือข้ามเชื้อชาติเป็นต้น
3.  นโยบายหรือกฎระเบียบขององค์กร (Policies, Rules, Regulations) การวิเคราะห์หาความจำเป็นในการฝึกอบรมโดยพิจารณาดูว่าองค์กรมีนโยบายที่ เกี่ยวข้องกับบุคลากรในเรื่องใดเช่นนโยบายเรื่องความมีวินัย ความโปร่งใส ธรรมาภิบาล  จริยธรรมหรือจรรยาบรรณในการทำงานกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ ที่มีอยู่ในองค์กร  นโยบายต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถใช้การฝึกอบรมมาใช้ในการพัฒนาบุคลากรขององค์กรได้
4.  ข้อกำหนดกฎหมายหรือมาตรฐานสากล (Law/International Standards) เป็นการวิเคราะห์หาความจำเป็นในการฝึกอบรมจากข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยว ข้องกับองค์กรและข้อกำหนดของระบบมาตรฐานสากลต่างๆโดยเฉพาะในองค์กรแพทย์ ปัจจุบันมักถูกฟ้องร้องกันมากซึ่งในส่วนนี้ต้องประสานงานผู้รู้หรือหน่วยงาน ที่รับผิดชอบเรื่องโดยตรงเพื่อค้นหาความต้องการในการพัฒนาบุคลากร
5.  ความต้องการของงาน (Job Requirements) นั่นคือในแต่ละตำแหน่งงานจะต้องมีหน้าที่ความรับผิดชอบ (Job Description) ถ้าบุคลากรในตำแหน่งนั้น ๆไม่สามารถทำงานในตำแหน่งนั้นได้เนื่องจากขาดความรู้ความสามารถก็จะเป็นความ ความต้องการในการพัฒนาความจำเป็นในส่วนนี้ถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญมากเพราะคน ทำงานทุกคนต้องได้รับการฝึกอบรมเป็นสิ่งที่ตำแหน่งงานต้องการถ้าไม่อบรมจะทำ งานในตำแหน่งนั้นๆไม่ได้ซึ่งอาจใช้ OJT หรือ On the Job Training มาช่วยในการฝึกอบรม  หรือศึกษาด้วยตนเอง การสอนงานโดยหัวหน้า การเรียนในห้องเรียนหรือเรียนโดยการลงมือปฏิบัติจริงเป็นต้น
6.  การพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพ (Career Development)  เป็นการวิเคราะห์ว่าคนในแต่ละตำแหน่งงานเขามีโอกาสจะเติบโตก้าวหน้าขึ้นไปใน ตำแหน่งใดบ้างและคนแต่ละตำแหน่งแต่ละคนจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาและฝึกอบรม เรื่องอะไรบ้าง  ซึ่งเป็นการฝึกอบรมที่หลายองค์กรมักจะมองข้ามไปไม่ได้นำมาวิเคราะห์ตอนที่ทำ แผนการฝึกอบรม และยังเป็นความจำเป็นในการวางแผนบุคลากรขึ้นสู่ตำแหน่งบุคลากรจำเป็นต้องได้ รับการพัฒนาให้มีการเติบโตในสายงาน
7.  ปัญหาในการทำงานในปีที่ผ่านมา (Problems) เป็นการสำรวจ/สอบถาม/สัมภาษณ์ทุกหน่วยงานว่าในปีที่ผ่านมาเขามีปัญหาหรือข้อ ผิดพลาดในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรเรื่องอะไรบ้าง  นำเอาปัญหาทั้งหมดมาวิเคราะห์ดูว่าปัญหาอะไรบ้างสามารถแก้ไขได้ด้วยการฝึก อบรม
8.  กิจกรรมในองค์กร(Activities) ทุกองค์กรมักจะมีกิจกรรมพัฒนาในด้านต่างๆที่นอกเหนือจากงานเช่น กิจกรรม 5 สกิจกรรมข้อเสนอแนะการจัดการความรู้  ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีคณะทำงานรับผิดชอบอยู่แล้วเราควรจะรวบรวม ความจำเป็นในการฝึกอบรมจากทุกกิจกรรมเข้ามาอยู่ในแผนการฝึกอบร,
9.  แนวโน้มของวิทยาการสมัยใหม่(Modern Management Concepts &Tools พัฒนา และฝึกอบรมของทุกองค์กรจำเป็นต้องมองไปข้างหน้า เพื่อวิเคราะห์ว่าองค์กรของ เราจำเป็นต้องมีการพัฒนาบุคลากรให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตหรือ ไม่ เช่น ปีสามปีห้าปีข้างหน้ามีกระแสการจัดการหรือเครื่องมือการจัดการสมัย ใหม่อะไรจะเข้ามาในบ้านเราบ้าง องค์กรของเราจำเป็นต้องมีการวางแผนเพื่อรอง รับการติดตามและนำมาให้คนในองค์กรเรียนรู้หรือไม่

สรุป การวิเคราะห์หาความจำเป็นในการฝึกอบรม
จำเป็นต้องดำเนินการในทุกด้าน ทั้งนี้ เพื่อให้ครอบคลุมที่แท้จริงขององค์กร และสามารถนำมาใช้ในการจัดทำแผนการพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากรได้ทั้งระยะสั้นและระยะยาวต่อไป
.......................
คนึงนิจ อนุโรจน์

วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ทำอย่างไรให้ลูกเก่งดีมีสุข



          เก่ง ดี มีสุข  ตามแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (..2552-2559) หมายถึง คนไทยจะต้องเป็นคนเก่ง ดี มีสุข ดำรงชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีสุขภาพทั้งกายและใจที่สมบูรณ์ มีความภูมิใจในความเป็นไทย สามารถประกอบอาชีพและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข


ความเก่งของมนุษย์ในด้านสติปัญญา (Intelligence Quotient--IQ)   เป็นคุณลักษณะที่เป็นยอดปรารถนาของมนุษย์ทุกคน แต่ข้อค้นพบทางทฤษฎีและงานวิจัยต่างๆ ในระยะหลังกลับพบว่าความเก่งทางด้านสติปัญญาเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพอที่จะทำให้มนุษย์สามารถบรรลุเป้าหมายของการมีชีวิตที่สมบูรณ์ได้   เพราะการมีชีวิตที่สมบูรณ์นั้น  นอกจากจะมีความสามารถในการเรียนรู้องค์ความรู้แล้วมนุษย์ต้องมีความสามารถในการเรียนรู้ตนเอง รวมทั้งเรียนรู้ที่จะมีชีวิตอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อมที่เกิดจากเทคโนโลยี รวมทั้งมนุษย์อื่นๆ โดยมีพื้นฐานของความดีงามเป็นเครื่องรองรับ  ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงความเก่งจึงต้องรวมทั้งความฉลาดทั้งในด้านสติปัญญา  และความฉลาดทางด้านอารมณ์  ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นต้องพัฒนาควบคู่กันไป

 

หลายคนตั้งข้อสงสัยว่าเราจะสร้างคนเก่งดีมีสุขให้อยู่ในคนคนเดียวกันได้หรือไม่ เรื่องนี้ Benjamin S. Bloom   ได้ทำการศึกษาความเป็นมาของอัจฉริยะบุคคลที่ได้รับการยอมรับในสังคมว่า เป็นหนึ่งในด้านต่างๆ จากคน 6 สาขา ได้แก่ นักแกะสลักประติมากรรม นักวิจัยทางคณิตศาสตร์ นักเปียโน นักวิจัยทางประสาทศึกษา นักว่ายน้ำเหรียญทองโอลิมปิก และนักเทนนิสระดับแชมป์เปี้ยน อายุไม่เกิน 35 ปี โดยทำการรวบรวม ประวัติ พฤติกรรรม และข้อมูลต่างๆ   เช่น ผลการเรียน วิธีพัฒนาความเก่งในสาขาของตนเอง การสนับสนุนจากแหล่งต่างๆ ร่วมกับสอบถาม พ่อแม่ครู โค้ช เพื่อนๆ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง พบว่า บิดา แม่ของอัจฉริยะบุคคลเหล่านั้นไม่เคยคาดหวังให้ลูกของตนต้องเป็นอัจฉริยะ แต่พ่อแม่จะเลี้ยงดูลูก ๆ ด้วยความเข้าใจธรรมชาติของลูก มีการสังเกตพฤติกรรมและความสามารถของลูกตั้งแต่ยังเล็ก ซึ่งเมื่อค้นพบว่าลูกชอบ และมีความสามารถด้านนั้นๆ เป็นพิเศษ ยกตัวอย่างเช่น ไทเกอร์ วูดส์ ชอบเล่นกอล์ฟมาตั้งแต่ 3 ขวบ หรือโมสาร์ท ชอบเล่นเปียโนมาตั้งแต่ 3 ขวบ พ่อแม่ก็จะให้การสนับสนุนความเก่งทางด้านนั้น พ่อแม่บางรายจะมีการหาผู้เชี่ยวชาญ หรือมืออาชีพมาทำการสอนลูก ให้เกิดความชำนาญ และเป็นมืออาชีพในด้านนั้น ๆ มากขึ้น  


นอกจากนี้ยังพบว่า พ่อแม่ ส่วนใหญ่จะสอนลูกให้มีความมุ่งมั่นในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ประสบความสำเร็จ    ทำงานหนัก และสามารถพึ่งพาตนเองได้ และสำคัญสิ่งสุดคือที่พ่อแม่ทุกคนให้กับลูก คือ ความรักความอบอุ่นและการดูแลเอาใจใส่อย่างเต็มที่ โดยเชื่อว่า ความรักจะเป็นพื้นฐานของทุกอย่าง เมื่อลูกรักจะทำอะไร พ่อแม่จะให้การสนับสนุนเพื่อให้ลูกมีความสุข  


เมื่อสอบถามถึงรายละเอียดก่อนการตั้งครรภ์ของแม่อัจฉริยบุคคล พบว่า ก่อนการตั้งครรภ์แม่ส่วนใหญ่ตั้งใจและมีการเตรียมพร้อมที่จะมีบุตร และขณะตั้งครรภ์จะเลือกรับประทานแต่อาหารที่มีประโยชน์   และทำจิตใจให้มีความสุข  พ่อแม่ของอัจฉริยบุคคล ไม่ได้คาดหวังว่าลูกต้องเก่ง แต่เลี้ยงดูเขาด้วยความรักความเข้าใจ  สนับสนุนด้านเด่นของลูกอย่างเต็มที่ และมองลูกเป็นอัจฉริยะในสายตาของพ่อกับแม่ โดยไม่ต้องไปเปรียบเทียบกับลูกของผู้อื่น

จากผลการศึกษาของ Benjamin S. Bloom  จึงพอสรุปได้ว่าเก่งดีมีสุข ต้องเริ่มจากความรักความอบอุ่นจากครอบครัวหล่อหลอมให้เด็กเกิดการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์เป็นพื้นฐานก่อน เมื่อเด็กสุขกายสุขใจ จึงจะเกิดการพัฒนาความฉลาดทางสติปัญญาได้โดยง่าย การพัฒนาให้เด็กเก่งดีและมีสุข เด็ก ๆ จะต้องได้รับการตอบสนองที่ดีในการพัฒนาปัญญาผ่านการเรียนรู้ชีวิตสามฐาน ได้แก่ ฐานกาย ฐานใจ และฐานความคิดตามลำดับ
การพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก

 
  ภาพจาก


http://www.blogger.com/blogger.g?blogID=4442257640161359354#editor/target=post;postID=1075571075599124911


ฐานกาย วัย 0-7 ปี   วัยนี้เป็น "วัยเล่น" ชอบเล่นและทำซ้ำ ๆ จนเกิดการเรียนรู้ที่เหมาะสม (optimum learning)  เล่นอย่างดื่มด่ำจนทำให้ซึมซับอารมณ์  (sense) ความสุขต่างๆ (appreciation) ในวัยเด็กให้จดจำ  ซึ่งเป็นการบ่มเพาะการสร้างเจตจำนงค์ (Willing) ซึ่งถือเป็นคุณสมบัติที่มีค่ามากในวัยนี้ ผ่านการสัมผัส (Sense of touch)  เช่น โอบกอด การสัมผัสที่มากพอ จะบ่มเพาะความกล้าให้มีการพัฒนาขึ้นในตัวเด็ก นอกจากนี้การเคลื่อนไหว (Sense of Movement) เช่นการวิ่งเล่นของเด็กจะส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้เรื่องเสรีภาพ อิสระเสรี จากการเคลื่อนไหว  ร่วมกับมีการพัฒนาความสมดุลของชีวิต (Sense of  balance) เกิดเรียนรู้การมีชีวิตที่สมดุล การไม่เอนเอียงไปด้านใดด้านหนึ่งของชีวิต และสุดท้ายฐานกายนี้ยังมีการพัฒนาการเรียนรู้ชีวิต (Sense of life)  เด็กที่ได้เรียนรู้ ความรัก ความอบอุ่น จากสัมผัสของพ่อแม่ อ้อมกอดที่ให้กันและกันเด็กจะรู้สึกมั่นคงในชีวิต   การเลี้ยงดูเด็กให้ฐานกายมีการพัฒนาที่มั่นคงจำเป็นต้องให้เสรีภาพเด็กในการได้ใช้ชีวิตของเขามากพอ การได้เล่นอย่างอิสระ จะส่งผลให้เด็กเติบโตอย่างมีความสุข จากฐานกายแข็งแรง และความสุขนี้จะอยู่เป็นภูมิคุ้มกันทำให้เด็กปรับตัวอยู่ในระบบหรือสังคมได้ โดยพ่อแม่จะต้องไม่ทำให้ความสุขที่อยู่ในตัวลูกหายไป

ฐานใจ วัย 8-14 ปี เป็นวัยของการพัฒนาความเข้าใจตัวเอง มีสติรู้เท่าทันตนเองและเท่าทันอารมณ์ของตนเอง   เรียนรู้การอยู่ร่วมกันและพร้อมที่จะเติบโตต่อไป   เด็กควรใช้ชีวิตกับสิ่งที่จริงคือจริง ไม่จริงคือไม่จริง ซื่อสัตย์กับความรู้สึก ยับยั้งชั่งใจได้  ต้องเรียนรู้ที่จะอาศัยธรรมะจัดการกับอารมณ์ได้ ซึ่งจะช่วยให้เด็กพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเอง (Self esteem) เรียนรู้ที่จะรัก ชื่นชม และขอโทษผู้อื่นเป็น พ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูกแบบบังคับไม่สนใจอารมณ์ ความรู้สึกของลูก ลูกก็จะคิดไม่เป็นเพราะเค้ามีหน้าที่ทำตามอารมณ์และความรู้สึกของพ่อแม่  หรือพ่อแม่ที่เลี้ยงลูกแบบปกป้องลูกก็จะตกร่องอารมณ์ ซึ่งจะนำไปสู่โรคซึมเศร้าได้


ฐานความคิด จะเบ่งบานที่สุดในวัย 15-21 ปี ฐานความคิดนี้เป็นการทำงานของสมองส่วนหน้าในการเรียนรู้การใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย โดยธรรมชาติจะสร้างให้เด็กแข็งแกร่ง ยอมรับในธรรมชาติของโลก ก่อนไปเผชิญกับโลกภายนอก เมื่อถึงเวลาเด็กพร้อม จากฐานกายและฐานใจที่มั่นคง เด็กจะใช้พลังขับตัวเอง และพาตัวเองไปสู่ความเก่งและประสบความสำเร็จในชีวิตได้ในที่สุด ดังนั้นการดึงเอาพลังขับของเด็กมาใช้ในเวลาที่ไม่เหมาะสม  เด็กจะมีพลังขับได้เพียงชั่วขณะ 

ด้วยเหตุนี้การดึงพลังฐานความคิดเวลาที่เหมาะสมที่สุดจึงอยู่ในวัย 15-21 ปี ซึ่งเป็นวัยที่เบ่งบานที่สุดนั่นเอง
จากแนวคิดดังกล่าวสรุปได้ว่า ฐานกายและฐานใจนั้นสำคัญที่สุด  ฐานกายและฐานใจที่มั่นคงฐานความคิดจะพัฒนาได้เอง ฐานกายคือความสุขและฐานใจคือความดี มีสติเท่าทันอารมณ์ของตัวเอง เด็กจะได้ใช้ชีวิตในวัยเด็กอย่างเบิกบาน มีความสุข และรู้จักความสุขที่แท้จริงจริงของตัวเอง มีความสุขในวัยเด็กให้จดจำ  อยากเป็นคนดี เพราะการเป็นคนดีทำให้เค้าสามารถดำรงอยู่กับความสุขนั้นได้  สุดท้ายเด็กก็จะเกิดพลังขับให้เกิดความเก่ง แต่สังคมในปัจจุบันพัฒนาเด็กในทางตรงกันข้าม ทุกวันนี้พ่อแม่ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการสร้างความเก่งให้เกิดขึ้นในตัวเด็กก่อน เพราะคิดว่าเก่งแล้วจะดีแล้วจะมีความสุข เราจึงได้เห็นคนเก่งที่คิดชั่ว เพราะเค้าไม่เคยมีความสุขของชีวิตในวัยเด็กให้จดจำ ไม่เคยเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยความรู้สึกที่ดีๆ ที่มีต่อกัน อยากได้ลูกเป็นคนดีมีความสุขจึ้งต้องเริ่มที่การพัฒนาฐานกาย ฐานใจให้มั่นคงก่อน ท้ายที่สุดท่านก็จะได้ลูกที่เก่งดีมีสุขตามมา   


เอกสารอ้างอิง
คนึงนิจ อนุโรจน์. (2556). เก่งดีมีสุข. เอกสารประกอบการสอนวิชา HRO 0003 : Thinking Process and Morality System. คณะวิทยาการจัดการหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต  สาขาวิชากลยุทธการบริหารทรัพยากรมนุษย์และองค์กร  สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.
แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2552-2559.  Retrieved May 20, 2013, from http://www.sobkroo.com/detail_room_main1.php?nid=2349
Brandt, R. S., (1985). On Talent Development: A Conversation with Benjamin Bloom. Education Leadership. September 1985, Page 26-28.
MyFamilyThaiPBS. (2011 ).ครอบครัวเดียวกัน บ่มพลังเพื่อลูก ตอน 1 5. Retrieved May 20, 2013, from http://www.youtube.com/watch?feature=player_detailpage&v=wY054-4as7I


.....................

ดร.คนึงนิจ อนุโรจน์
 https://www.facebook.com/pages/Human-Resource-Guide-By-DrKhanuengnich-Anuroj/179154502127716?ref=hl